เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 5. วิชชาภาคิยสูตร
ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่มีความเลื่อมใสในอันไม่หวั่นไหวใน
พระสงฆ์ ไม่มีศีลที่พระอริยะใคร่เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้นไม่มีญาณอย่าง
นี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน
ข้างหน้า’ ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ส่วนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด
มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะใคร่ เทวดาชั้นปรนิม-
มิตวสวัตดีเหล่านั้นจึงมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่
นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ลำดับนั้น ท่านพระโมคคัลลานะชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของติสสพรหมแล้ว
หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ พระเชตวัน เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า
มหาโมคคัลลานสูตรที่ 4 จบ
5. วิชชาภาคิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา
[35] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา
ธรรม1 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อนิจจสัญญา
2. อนิจเจ ทุกขสัญญา
3. ทุกเข อนัตตสัญญา

เชิงอรรถ :
1 อนิจจสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
อนิจเจ ทุกขสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
ทุกเข อนัตตสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์
ปหานสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นการละกิเลส
วิราคสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นวิราคะ (ความคลายกำหนัด)
นิโรธสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นนิโรธ (ความดับแห่งกิเลส) (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/35/
116) และดู องฺ.สตฺตก. 23/48-49/40-46, องฺ.ทสก. (แปล) 24/56/123

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :483 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. เทวตาวรรค 6. วิวาทมูลสูตร
4. ปหานสัญญา
5. วิราคสัญญา
6. นิโรธสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมเป็นส่วนแห่งวิชชา
วิชชาภาคิยสูตรที่ 5 จบ
6. วิวาทมูลสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งวิวาท
[36] ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งวิวาท 6 ประการนี้
มูลเหตุแห่งวิวาท 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุ
นั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์
และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ และไม่ทำสิกขา
ให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คน
หมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้
ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่ง
วิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่
พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย
พึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป
การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาท
ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :484 }